วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

NATIONAL SCIENCE AND TECHNOLOGY FAIR 2019


Date: 23 August 2019

ภาพแรกเมื่อเข้าประตูมา

    ศึกษานอกสถานที่
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

    หนูไปเข้าร่วมงานในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2562 ช่วงเวลาประมาณ 14.30 - 16.00 น. เข้ามาถึงภายในงานทางพี่พนักงานต้อนรับหน้าประตูจะให้เราติดสติ๊กเกอร์เข้าร่วมงาน มีรูปร่างแบบนี้ค่ะ💗

สติ๊กเกอร์เข้าร่วมงาน
    สายตาไม่รู้จะสาดส่องไปทางหน่อยก่อนดีเลยค่ะ ทุกซุ้มน่าเข้าไปหมด น้องๆชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และเพื่อนๆอุดมศึกษา มาเข้าร่วมงานคับคั่งไปหมด ทำให้หนูพอได้เข้าไปซุ้มเพียงไม่กี่ซุ้มค่ะ ได้แก่
🌸 EXHIBITION LANDMARK รูปปิระมิดหัวกลับ


    สิ่งแรงที่ดึงดูดสายตาหนู คือ สิ่งนี้ค่ะ ตั้งเด่นเป็นสง่าดึงดูดสายตาไม่ว่าจะเป็นทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่ หนูจึงเดินไปเข้าไปอ่านว่าสิ่งนี้คืออะไร และสิ่งนี้ก็เป็นเหมือนสิ่งที่ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุราธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านการพัฒนาประเทศ จากกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานสัมภาษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2525 ว่า "...เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนพิรามิต มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอด และมีราษฎรอยู่เบื้องล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ทุกอย่างดูเหมือนจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ..." และพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่ทรงน้อมนำแนวทางการพัฒนาประเทศของพระราชบิดามาต่อยอดปฎิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์สืบไปจาก ปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป"

🌸 นิทรรศการ พินิจ พิพิธ - พันธุ์ (BIODIVERSITY AMUSE - UM)

    นี่ก็เป็นอีก 1 สถานที่ค่ะ ที่หนูเดินตามพวกเด็กๆจนมาเจอนิทรรศการแห่งนี้ เป็นการท่องโลกพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาจำลอง ที่ถอดแบบสถาปัตยกรรมสุดอลังการจาก "พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน" ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งของไทยและของโลก ผ่านการจัดแสดงในรูปแบบของตัวอย่างสิ่งมีชีวิต (COLLECTION BASE) ที่ถูกเก็บในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

🌸 นิทรรศการ พลาสติกพลิกโลก (PLASTIC CHANGED THE WOLD)


    วิ้งๆวับๆ น่าเข้ามากๆค่ะ ถุกใจสาวๆในงานทุกวัยแน่นอน หนูก็เช่นเดียวกันค่ะ ต้องถึงกับมาหยุดถ่ายรูปไว้สักหน่อยก่อนที่จะตัดสินใจเดินเข้าไปชม


    เดินเข้ามาปุ๊ป ทางขวามือจะมีเกมแยกขยะให้เด็กๆได้ลองฝึกแยกขยะด้วยตัวเอง ผ่านจอโทรทัศน์ที่ฉายภาพขยะชนิดต่างๆ แล้วให้เด็กๆกดตามที่ปุ่มแดงๆด้านล่าง แล้วคะแนนจะกลับไปโผล่ที่ด้านบนจอโทรทัศน์ค่ะ


    เลยออกมาเลี้ยวขวามาสักนิด จะเจอกับ "คุณสมบัติของขยะ" ให้เราลองดูขยะแต่ละชนิดและครุ่นคิดถึงคุณสมบัติของขยะแต่ละชิ้น




    กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆค่ะ หนูเดินเข้ามาก็สนใจกับสิ่งนี้แล้ว นี่คือเกม "พลาสติกที่ใช้ในบ้าน" ลองเล่นเกมจากรูปด้านบนดูสิคะ


ไปมหกรรมครั้งนี้ถึงไม่มีรูปตัวเอง แต่รูปความรู้และความงามของวิทยาศาสตร์เต็มไปหมดเลยค่ะ
ถ้าปีนี้เพื่อนๆหรือผู้อ่านไปร่วมงานไม่ทัน ปีหน้าถ้ามีโอกาสลองไปดูนะคะ แล้วคุณจะหลงรักวิทยาศาสตร์

ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿







วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

3RD LEARNING RECORD



Date: 16 August 2019


    การเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรวมกันทั้ง 2 เซค ทำให้บรรยากาศดูครึกครื้นเป็นพิเศษ อาจารย์จินตนาไม่ปล่อยให้วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่อาจารย์จินตนาต้องยกคลาสไปทำธุระทางราชการ ด้วยการให้นักศึกษาไปร่วมงาน "มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปี 2562" ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และไปศึกษางานนวัตกรรมต่างๆเพื่อมาประยุกต์ใช้กับการเรียนของตัวเอง และอนาคตที่จะไปเป็นครูปฐมวัยในยุค 4.0

การเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปี 2562

    เริ่มการเรียนการสอนด้วยการที่อาจารย์จินตนาให้แต่ละกลุ่ม เรียงตามหัวข้อที่ได้ทั้ง 2 เซค ร่วมแบ่งปันความรู้ที่แต่ละกลุ่มได้ทำการค้นหาจากหัวข้อต่างๆที่อาจารย์กำหนด โดยกลุ่มของหนูที่ได้หัวข้อ "ดิน หิน ทราย" ได้ทำการค้นหาข้อมูลและโพสลงเว็บไซต์ไปแล้ว ดังนี้ค่ะ
🌸 ที่มาและแหล่งกำเนิด
    ดิน หิน ทราย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีลักษณะที่แตกต่างกัน    
🌸 ลักษณะและคุณสมบัติ
  • ลักษณะ 
  1. หิน มีลักษณะเป็นของแข็ง มีหลากหลายขนาด
  2. ทราย มีลักษณะเป็นของแข็ง มีขนาดเล็กและละเอียด
  3. ดิน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ดินเหนียว มีความหนืดมากกว่าดินทั่วไป เมื่อถูกดูดความชื้นออกไปจะกลายสภาพเป็นดินแข็งๆ / ดินร่วน มีความร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำได้ดี / ดินทราย ไม่สามารถอุ้มน้ำได้เลย
  • คุณสมบัติ
  1. หิน มีความแข็งแรง บางชนิดสามารถนำไปทำเป็นเครื่องประดับที่ต้องการความทนทานได้
  2. ดิน มีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีเข้ม มีเนื้อสัมผัสที่แข็งหยาบไปจนถึงเนื้อสัมที่ละเอียดนุ่มและมีความยิดหยุ่น
  3. ทราย มีละเอียดน้อยไปจนถึงมาก แล้วแต่การแตกตัวออกมาจากหิน มีความแวววาวเมื่อกระทบกับแสงแดด

🌸 ความสำคัญและประโยชน์
  • ความสำคัญ 
  1. หิน ใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน
  2. ดิน เป็นอาหารของพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งกักเก็บความชื้น
  3. ทราย เป็นส่วนประกอบในการทำสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของตกแต่ง และเครื่องประดับ   
  • ประโยชน์
  1. หิน ใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน ใช้ทำรูปแกะสลัก เครื่องใช้ต่างๆ ของประดับตกแต่ง
  2. ดิน ใช้เพาะปลูกพืช และนำไปทำเครื่องปั้นดินเผา
  3. ทราย สามารถนำมาทำกระจก แก้ว หรือตกแต่งของต่างๆได้ 
🌸 การดูแล 
    ดิน หิน ทราย เป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดหมุนเวียน ไม่มีวันหยุดสิ้น

🌸 โทษ ข้อระวังและผลกระทบ
  • ข้อระวัง
  1. หิน อย่านำไปปาหรือเขวี้ยงใส่ผู้อื่น เพราะ อาจได้รับบาดเจ็บหรือถึงชีวิตได้
  2. ดิน มีสารเคมีตกค้างมากมาย จึงไม่ควรเอาเข้าปาก 
  3. ทราย ควรเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่ควรปาขึ้นสูงๆ เพราะลมอาจพัดทรายเข้าตาได้
อาจารย์จินตนากำลังถามแต่ละกลุ่ม

    กิจกรรมสุดท้ายหลังการเรียนการสอน อาจารย์จินตนาได้ให้แต่ละกลุ่มคิดสื่อเกี่ยวกับหัวข้อของตัวเอง และสื่อของกลุ่มอีก 1 ชิ้น
    และนี่คือสื่อเดี่ยวของกลุ่มหนูค่ะ

เกม XO

นาฬิกาทราย

ดัมเบล

ตุ๊กตาล้มลุก

ต่อหินเป็นรูปร่าง
    และนี่คือสื่องานกลุ่มค่ะ

เครื่องกรองน้ำจากหิน ดิน ทราย

VOCABULARY

Origin          แหล่งกำเนิด
Proprety          คุณสมบัติ
Natural Resources        ทรัพยากรธรรมชาติ
Moisture          ความชื้น
Farming          เพาะปลูก


Evaluate teachers: อาจารย์จินตานาหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำได้สนุกสนานตลอดเลย มีประโยชน์มากๆด้วยค่ะ

Evaluate Friends: เพื่อนๆหาข้อมูลมาดีมากค่ะ ถึงบางกลุ่มจะทำออกมาได้ไม่ดีแต่ก็มีความตั้งใจ สื่อแต่ละชนิดที่เพื่อนๆหามานั้น ไม่น้อยหน้าไปกว่ากันเลยค่ะ สุดยอดจริงๆ

Evaluate yourself: หนูและเพื่อนในกลุ่มช่วยกันแบ่งหน้าที่ในการหาอย่างแข่งขันมากค่ะ และจะพยายามต่อไปเรื่อยๆค่ะ


ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿




2ND LEARNING RECORD


Date: 14 August 2019



    เนื่องจากวันนี้หนูลา เพราะ ป่วยปวดท้องประจำเดือนอย่างหนักไปเรียนไม่ไหว อาจทำให้การบันทึกการเรียนการสอนครั้งนี้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะ รูปและเนื้อหาทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดผ่านเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกทีหนึ่งค่ะ

    การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์จินตนาได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4-5 คน พร้อมถ่ายรูปและเขียนชื่อสมาชิก โพสลงในกลุ่มของเว็บไซต์ padlet.com

ภาพแต่ละกลุ่มบนเว็บไซต์

    จากนั้นอาจารย์จินตนาให้นักศึกษาตอบคำถามลงไปในในโพสกลุ่มตัวเองว่า "วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยน่าจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง" เพื่อเป็นการเรียกความตื่นตัวและสติของนักศึกษาที่กำลังเริ่มง่วงกัน อาจารย์จินตนาจึงให้นักศึกษาปรบมือ 3 ครั้ง และถามว่าอาจารย์ให้นักศึกษาปรบมือทำไม คำตอบที่ได้จากอาจารย์ คือ
🌸 เพราะอาจารย์สั่ง นั้นคือเป็นความจริง
🌸 เพื่อเรียกสมาธินักศึกษา นั่นคือการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นการเกิดการประมวลผลและเกิดการเชื่อมโยงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
   
    สรุปจากกิจกรรมปรบมือ 3 ครั้งนี้ได้ว่า การปรบมือเป็นการสั่งการจากสมอง โดยรับข้อมูลมาจากการฟัง นั่นก็คือประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อให้มีการสั่งการไปยังสมอง สมองก็จะประมวลผลแล้วสั่งการไปยังร่างกายอีกที


วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
    จะเริ่มจากอะไรที่ซับซ้อนน้อยๆไปยังเรื่องที่ซับซ้อนมากๆ เขาจะเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม เราซึ่งในอนาคตจะต้องไปสอนพวกเขา จึงต้องรู้การออกแบบวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลงเป็นสื่อ แล้วให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสมอง มีตัวอย่างดังนี้ 
🐶 เด็กเคยเห็นหรือเล่นแต่กับตุ๊กตาสุนัข ที่สามารถเดินได้ มีเสียงเห่า เด็กได้กอดได้สัมผัสโดยที่สุนัขไม่กัดเพราะ นั่นคือตุ๊กตา แต่พอเด็กไปพบสุนัขตัวเป็นๆ มีชีวิตจริงๆ จึงเข้าไปเล่นด้วยเหมือนที่เล่นกับตุ๊กตา สุนัขตัวนั่นกลับเห่าและมีทีท่าจะกัด สมองของเด็กคนนั้นจะปรับโครงสร้างแล้วเกิดเป็น "ความรู้ใหม่" ซึ่งเป็นการรับรู้ของสมอง หากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่เข้าหาสุนัขอีก แสดงว่าเด็กคนนั้น "เกิดการเรียนรู้" เป็นการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ 🐶
    ดังที่ เพียเจต์ ได้กล่าวไว้ โดยแบ่งขั้นการพัฒนาการออกตามช่วงวัย 4 ขั้น ได้แก่
🌸 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori - Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ 
🌸 ขั้นก่อนปฎิบัติการ (Preoperational Stage) 2 - 7 ปี เน้นการใช้ภาษาและเหตุผลเล็กน้อย 
🌸 ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 7 - 11 ปี สามารถสร้างกฎเกณฑ์ ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ และสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้ เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์
🌸 ขั้นปฎิบัติการด้านนามธรรม (Formal Poeration Stage) 11 - 15 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดพัฒนาไปถึงขั้นสุดยอด

พัฒนาการ
    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง ดังนั้น เราจะต้องจัดประสบการ์ให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก "ถ้าอะไรที่มันง่ายเกินไปเด็กก็จะเบื่อ ถ้าอะไรมันยากเกินไปเด็กก็จะท้อและไม่อยากทำ"

    กิจกรรมสุดท้ายของการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อ ดังนี้
🌸 แสง
🌸 อากาศ
🌸 น้ำ
🌸 เสียง
🌸 เครื่องกล
🌸 ดิน หิน ทราย

    กลุ่มของหนูได้หัวข้อ ดิน หิน ทราย อาจารย์จินตนาให้หาเนื้อหาให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ตัวเด็ก และต้องเรียนรู้ได้ โดยมีหัวข้อที่ต้องหามา ดังนี้
🌸 ที่มาและแหล่งกำเนิด
🌸 ลักษณะและคุณสมบัติ
🌸 ความสำคัญและประโยชน์
🌸 การดูแลรักษา
🌸 โทษ ข้อระวังและผลกระทบ

VOCABULRY

Fact          ความจริง
Cause          เป็นเหตุเป็นผล
Processor          ประมวลผล
Change          การเปลี่ยนแปลง
Conserve          อนุรักษ์


Evaluate teachers: อาจารย์จินตานาสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาได้อย่างเข้าใจค่ะ ทำให้เพื่อนๆสามารถนำมาถ่ายทอดให้หนูได้อย่างละเอียดเกือบครบเนื้อหาที่อาจารย์สอน

Evaluate Friends: เพื่อนๆตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันมากค่ะ มีน้ำใจและไม่หวงความรู้ ถ่ายทอดความรู้ในห้องเรียนให้หนูอย่างเต็มใจและไม่ขาดตกเรื่องเนื้อหาเลยค่ะ

Evaluate yourself: พยายามตามงานเพื่อนให้ทัน และช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มอย่างตั้งใจค่ะ ไม่ปล่อยให้การป่วยเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ 

ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ARTICLE


สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง : การพัฒนาการรับแนวคิด และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็ก

โดย : ลินด์ และคาเรน ดี.

หน้าเว๊บไซต์

เอกสารบทความฉบับเต็ม

สรุป
    ในช่วงวัยแรกเกิดถึงช่วงปฐมวัย เป็นช่วงที่เด็กจะได้เรียนรู้กับประสบการณ์การทางวิทยาศษตร์ที่ดีที่สุด และยังสามารถนำความรู้ในช่วงพี่นี้ไปต่อยอดเป็นพื้นฐานในเรื่องของการพัฒนา การรับแนวคิด และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย ผ่านวิธีการเล่นต่างๆ เช่น การเล่นตัวต่อ การจำแนกประเภท การวัด แค่เพียงการเล่นง่ายๆแบบนี้ สามารถนำไปสู่กระบวนการใหม่ๆได้ นำไปประยุกต์ใช้ในสถาการณ์ต่างๆในชีวิต ทำให้เด็กเป็นคนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว เช่น เป็นคนช่างสงสัย ช่างสังเกต ช่างคิด ช่างถาม ชอบทดลอง และเป็นคนที่ชอบหาความจริงที่พิสูจน์ได้



ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿

RESEARCH


สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง : ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้

โดย : วิลา มณีอินทร วิไล ทองแผ และกิรณา เกี๋ยสกุล


วัตถุประสงค์ของการวิจัย :
     🌸เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 
     🌸เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
     🌸เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ 

ขอบเขตของการวิจัย
     เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งใช้วิธ๊สุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากจำนวน 15 โรงเรียน จับสลากไว้ 2 โรงเรียน แล้วสุ่มอีกครั้งเพื่อเป็นกลุ่มทดลองที่1 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น จำนวน 28 คน ใช้วิธ๊การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดคูบัว จำนวน 22 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

สรุปผลการวิจัย  
  1.  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการสูง สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างเป็นนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
  3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ไม่แตกต่างกัน




ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

1ST LEARNING RECORD


Date: 7 August 2019


   วันนี้เวลา 08.30 น. อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ผู้เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาการจัดการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อมาทำความรู้จักกับรายวิชานี้ และรายละเอียดต่างๆในการทำ Blog วิชานี้ 

     🌸 ใส่องค์ประกอบ Blog เหมือนกับเทอมที่แล้ว เช่น ปฎิทิน ข้อมูลอาจารย์ ตัวเอง
     🌸 Link รายชื่อเพื่อนในกลุ่มเรียน
     🌸 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย เช่น เพลง นิทาน สื่อที่เป็นอุปกรณ์ ตัวอย่างงานวิจัย บทความ
     🌸 สุดท้าย คือ คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสัปดาห์นั้นๆ 5 คำ
    
VOCABULARY

Element          องค์ประกอบ
Research          งานวิจัย
Article          บทความ
Science           วิทยาศาสตร์
Knowledge          ความรู้



Evaluate teachers: อาจารย์จินตานามีความพร้อมในการเตรียมเนื้อหาต่างๆมาสอนนักศึกษาเป็นอย่างดี มีอารมณ์ในการสอนและความจริงจังไปพร้อมๆกันค่ะ 

Evaluate Friends: เพื่อนๆตั้งใจเรียนและจดบันทึกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ BLOG สีหน้าดูจริงจังกันทุกคนเลยค่ะ

Evaluate yourself: ยังคงมีความตั้งใจในการทำBLOGออกมาให้ดูน่าสนใจ และแต่งต่างจากเพื่อนค่ะ เพราะ หนูคาดหวังกับวิชาของอาจารย์จินตนามากๆ กลัวจะได้ผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่หวัง 

ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿

SCIENCE TEACHING TEACHNIQUES

Date: 6 December 2019     วันนี้เป็นวันสอบปลายภาคในวิชานี้ อ.จินตนาจึงให้นักศึกษาทำสรุปจากใบความรู้ชุดหนึ่งที่มีหัวข้อว่า "เทค...