Date: 14 August 2019
เนื่องจากวันนี้หนูลา เพราะ ป่วยปวดท้องประจำเดือนอย่างหนักไปเรียนไม่ไหว อาจทำให้การบันทึกการเรียนการสอนครั้งนี้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะ รูปและเนื้อหาทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดผ่านเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกทีหนึ่งค่ะ
การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์จินตนาได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4-5 คน พร้อมถ่ายรูปและเขียนชื่อสมาชิก โพสลงในกลุ่มของเว็บไซต์ padlet.com
ภาพแต่ละกลุ่มบนเว็บไซต์ |
จากนั้นอาจารย์จินตนาให้นักศึกษาตอบคำถามลงไปในในโพสกลุ่มตัวเองว่า "วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยน่าจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง" เพื่อเป็นการเรียกความตื่นตัวและสติของนักศึกษาที่กำลังเริ่มง่วงกัน อาจารย์จินตนาจึงให้นักศึกษาปรบมือ 3 ครั้ง และถามว่าอาจารย์ให้นักศึกษาปรบมือทำไม คำตอบที่ได้จากอาจารย์ คือ
🌸 เพราะอาจารย์สั่ง นั้นคือเป็นความจริง
🌸 เพื่อเรียกสมาธินักศึกษา นั่นคือการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นการเกิดการประมวลผลและเกิดการเชื่อมโยงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
สรุปจากกิจกรรมปรบมือ 3 ครั้งนี้ได้ว่า การปรบมือเป็นการสั่งการจากสมอง โดยรับข้อมูลมาจากการฟัง นั่นก็คือประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อให้มีการสั่งการไปยังสมอง สมองก็จะประมวลผลแล้วสั่งการไปยังร่างกายอีกที
วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
จะเริ่มจากอะไรที่ซับซ้อนน้อยๆไปยังเรื่องที่ซับซ้อนมากๆ เขาจะเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม เราซึ่งในอนาคตจะต้องไปสอนพวกเขา จึงต้องรู้การออกแบบวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลงเป็นสื่อ แล้วให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสมอง มีตัวอย่างดังนี้
🐶 เด็กเคยเห็นหรือเล่นแต่กับตุ๊กตาสุนัข ที่สามารถเดินได้ มีเสียงเห่า เด็กได้กอดได้สัมผัสโดยที่สุนัขไม่กัดเพราะ นั่นคือตุ๊กตา แต่พอเด็กไปพบสุนัขตัวเป็นๆ มีชีวิตจริงๆ จึงเข้าไปเล่นด้วยเหมือนที่เล่นกับตุ๊กตา สุนัขตัวนั่นกลับเห่าและมีทีท่าจะกัด สมองของเด็กคนนั้นจะปรับโครงสร้างแล้วเกิดเป็น "ความรู้ใหม่" ซึ่งเป็นการรับรู้ของสมอง หากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่เข้าหาสุนัขอีก แสดงว่าเด็กคนนั้น "เกิดการเรียนรู้" เป็นการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ 🐶
ดังที่ เพียเจต์ ได้กล่าวไว้ โดยแบ่งขั้นการพัฒนาการออกตามช่วงวัย 4 ขั้น ได้แก่
🌸 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori - Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
🌸 ขั้นก่อนปฎิบัติการ (Preoperational Stage) 2 - 7 ปี เน้นการใช้ภาษาและเหตุผลเล็กน้อย
🌸 ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 7 - 11 ปี สามารถสร้างกฎเกณฑ์ ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ และสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้ เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์
🌸 ขั้นปฎิบัติการด้านนามธรรม (Formal Poeration Stage) 11 - 15 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดพัฒนาไปถึงขั้นสุดยอด
พัฒนาการ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง ดังนั้น เราจะต้องจัดประสบการ์ให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก "ถ้าอะไรที่มันง่ายเกินไปเด็กก็จะเบื่อ ถ้าอะไรมันยากเกินไปเด็กก็จะท้อและไม่อยากทำ"
กิจกรรมสุดท้ายของการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อ ดังนี้
🌸 แสง
🌸 อากาศ
🌸 น้ำ
🌸 เสียง
🌸 เครื่องกล
🌸 ดิน หิน ทราย
กลุ่มของหนูได้หัวข้อ ดิน หิน ทราย อาจารย์จินตนาให้หาเนื้อหาให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ตัวเด็ก และต้องเรียนรู้ได้ โดยมีหัวข้อที่ต้องหามา ดังนี้
🌸 ที่มาและแหล่งกำเนิด
🌸 ลักษณะและคุณสมบัติ
🌸 ความสำคัญและประโยชน์
🌸 การดูแลรักษา
🌸 โทษ ข้อระวังและผลกระทบ
VOCABULRY
Fact ความจริง
Cause เป็นเหตุเป็นผล
Processor ประมวลผล
Change การเปลี่ยนแปลง
Conserve อนุรักษ์
Evaluate teachers: อาจารย์จินตานาสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาได้อย่างเข้าใจค่ะ ทำให้เพื่อนๆสามารถนำมาถ่ายทอดให้หนูได้อย่างละเอียดเกือบครบเนื้อหาที่อาจารย์สอน
Evaluate Friends: เพื่อนๆตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันมากค่ะ มีน้ำใจและไม่หวงความรู้ ถ่ายทอดความรู้ในห้องเรียนให้หนูอย่างเต็มใจและไม่ขาดตกเรื่องเนื้อหาเลยค่ะ
Evaluate yourself: พยายามตามงานเพื่อนให้ทัน และช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มอย่างตั้งใจค่ะ ไม่ปล่อยให้การป่วยเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้
ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น