วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

8TH LEARNING RECORD


Date: 4 October 2019


    การเรียนการสอนครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะ เพราะ อ.จินตนามีธุระต้องไปทำต่อ ถึงแม่เวลาเรียน 08.00 - 09.48 น. จะเป็นเวลาที่เร็วพอสมควร แต่อาจารย์กลับได้พูดคุยกับนักศึกษามากมายเลยค่ะ เช่น
  1. เขียนโครงการ โดยเวลาที่แต่ละกลุ่มเขียน ต้องคำนึงถึงเวลา 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00 - 11.00 น. ว่าควรแบ่งเวลายังไง รวมถึงการวางแผนการทำงาน การมอบหน้าที่
  2. ของเล่นประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เป็นงานเดี่ยวค่ะ อาจารย์ได้ถามหาเพื่อที่จะได้ทำการตรวจให้คะแนน
  3. สื่อทางวิทยาศาสตร์กลุ่ม ตามหัวข้อที่เคยได้รับ ซึ่งกลุ่มหนูได้หัวข้อ "ดิน หิน ทราย"
  4. วัสดุฝึก อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันลงมติว่าอยากได้อะไรกัน จนได้มติที่ว่าคือ "สีไม้"
กลุ่มของหนูกำลังเขียนโครงการกันค่ะ

สื่อกลุ่ม

สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
การเขียนโครงการของกลุ่มหนู

โครงการ ... เงาพิศวง

หลักการ
          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน นอกจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จึงได้จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงาพิศวง เกี่ยวกับการทอดเงา
2.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาได้เต็มตามศักยาภาพ
3.       เป้าหมายเชิงปริมาณ เด็กปฐมวัยทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรม

วิธีดำเนินการ
กิจกรรม/ขั้นตอนการปฎิบัติ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ขั้นวางแผน
-          ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ
ขั้นดำเนินการ
-          เสนอโครงการ
-          ดำเนินการเข้ากิจกรรมวิทยาศาสตร์

ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้จัดทำ
ขั้นประเมินผล
-          ประเมินผลโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ

ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ
          วันที่ 4 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมในวันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 11.00 น. ณ มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม

งบประมาณ
          ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       เด็กปฐมวัยมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและเงา
2.       เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.       เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

การประเมินผล
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
1.       เด็กปฐมวัยรั้อยละ 80 มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
2.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
3.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สังเกต
แบบสังเกตุ

ผู้เสนอโครงการ/ผู้เห็นชอบโครงการ
นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ
ผู้อนุมัติโครงการ
          ดร.จินตนา   สุขสำราญ

VOCABULARY

Project          โครงการ
Indicator          ตัวบ่งชี้
Approvers          ผู้อนุมัติ
Proponent          ผู้เสนอ
Foundation          มูลนิธิ



Evaluate teachers: อาจารย์จินตานาถึงแม้มีธุระ แต่ก็ยังคงให้ความรู้แก่นักศึกษาได้ตลอดค่ะ

Evaluate Friends: เพื่อนๆมากันตรงเวลามากค่ะ ทำให้ถึงแม้อาจารย์สอนแปปเดียวก็ยังมากันเยอะ

Evaluate yourself: หนูมาตรงเวลามากค่ะวันนี้เหมือนรู้ว่าอาจารย์มีธุระ และช่วยเหลือเพื่อนในการเขียนโครงการด้วยค่ะ



ʕ · ᴥʔ Thank you to all readers for visiting my blog. ʕᴥ · ʔ
✿ ♥ ‿ ♥ ✿ Hope this blog will be useful for all readers ✿ ♥ ‿ ♥ ✿

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

SCIENCE TEACHING TEACHNIQUES

Date: 6 December 2019     วันนี้เป็นวันสอบปลายภาคในวิชานี้ อ.จินตนาจึงให้นักศึกษาทำสรุปจากใบความรู้ชุดหนึ่งที่มีหัวข้อว่า "เทค...